ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำของสกินเนอร์
(Operant
Conditioning Theory)
Burrhus
Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
(Operant Conditioning theory หรือInstrumental
Conditioning หรือ Type-R. Conditioning)
ประวัติ บี.เอฟ.สกินเนอร์
-เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1940 ที่ มลรัฐเพนซิลเวเนีย
สหรัฐอเมริกา
-จบปริญญาตรี ทางวรรณคดี ในอังกฤษ
-เข้าศึกษาต่อสาขาจิตวิทยา ระดับปริญญาโทและเอก ณ มหาวิทยาลัย
ฮาร์ดเวิร์ด ปี ค.ศ.1982
วิชาเอกพฤติกรรมศาสตร์
สกินเนอร์มีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov นั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์
พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง
ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov
สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ
1. Respondent
Behavior คือพฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล
2. Operant
Behavior คือพฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา
ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน
ขับรถ การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์
เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน
แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า
จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง
(Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร
ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า
อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง
หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่า "พฤติกรรม"
ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ
1. Antecedents คือ เงื่อนไขนำหรือสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
(สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน) ทุกพฤติกรรมต้องมีเงื่อนไขนำ เช่น
วันนี้ต้องเข้าเรียนบ่ายโมง พฤติกรรมเราถูกกำหนดด้วยเวลา
2. Behavior คือ พฤติกรรมที่แสดงออก
3. Consequences หรือผลกรรม เกิดขึ้นหลังการทำพฤติกรรม
เป็นตัวบอกว่าเราจะทำพฤติกรรมนั้นอีกหรือไม่ ดังนั้น
ไม่มีใครที่ทำอะไรแล้วไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งเรียกย่อๆ
ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป
ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ
สำหรับการทดลองของสกินเนอร์
เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่ง กล่องทดลองของสกินเนอร์(Skinner
Boxes) จะประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ
คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง
เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา
ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที
ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง
หลักการและแนวคิดที่สำคัญของ สกินเนอร์
1. การวัดพฤติกรรมตอบสนอง
สกินเนอร์
เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจำกัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
และพฤติกรรมที่สังเกตได้นั้นสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของการตอบสนองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
หรือพิจารณาจากอัตราการ ตอบสนอง (Response
rate) นั่นเอง
2. อัตราการตอบสนองและการเสริมแรง
สกินเนอร์
เชื่อว่าโดยปกติการพิจารณาว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใดนั้นจะสรุปเอาจากการเปลี่ยนแปลงการตอบสนอง
(หรือพูดกลับกันได้ว่าการที่อัตราการตอบสนองได้เปลี่ยนไปนั้น
แสดงว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว)
และการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเสริมแรง (Reinforcement) นั้นเอง สิ่งเร้านี้สามารถทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง
เราเรียกว่าตัวเสริมแรง (Reinforcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองเราเรียกว่าไม่ใช่ตัวเสริมแรง
(Nonreinforcer)
3. ประเภทของตัวเสริมแรง
ตัวเสริมแรงนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
อาจแบ่งเป็นตัวเสริมแรงบวกกับตัวเสริมแรงลบ หรืออาจแบ่งได้เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิกับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
3.1 ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
ซึ่งเมื่อได้รับหรือนำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ
และทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น อาหาร คำชมเชย ฯลฯ
3.2 ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว
จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ
การลงโทษ (Punishment)
การลงโทษ (Punishment)
คือ การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี 2 ทางได้แก่
1. การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)
2. การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)
ตารางเปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ
ได้ดังนี้
ชนิด
|
ผล
|
ตัวอย่าง
|
การเสริมแรงทางบวก
|
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่บุคคลนั้นต้องการ
|
ผู้เรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้วได้รับคำชม
จะทำการบ้านส่งตรงเวลาสม่ำเสมอ
|
การเสริมแรงทางลบ
|
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาถูกทำให้ลดน้อยหรือหมดไป
|
ผู้เรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนด
เวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำ รายงานให้เสร็จตรงตามเวลา |
การลงโทษ 1
|
พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น
|
เมื่อถูกเพื่อน ๆ ว่า "โง่" เพราะตั้ง
คำถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้น เลิกตั้งคำถามในชั้นเรียน |
การลงโทษ 2
|
พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนำสิ่งเร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป
|
ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบ
ข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจาก ครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่ ตอบคำถามในลักษณะนั้นอีก |
การลงโทษ (Punishment) การเสริมแรงทางลบ
และการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอแต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน
โดยเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม
พฤติกรรม
|
การเสริมแรง
|
เพิ่มพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นบ่อยขึ้น
|
พฤติกรรม
|
การลงโทษ
|
ลดพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นน้อยลง
|
ข้อเสียของการลงโทษ
1. การลงโทษไม่ได้ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน แค่เก็บกดเอาไว้ แต่พฤติกรรมยังคงอยู่
2. บางครั้งทำให้พฤติกรรมที่ถูกลงโทษ เพิ่มขึ้น เช่น โดนห้ามลางาน
ก็เลยมาแกล้งคนอื่นที่ทำงาน
3. บางครั้งไม่รู้ว่าทำไมถูกลงโทษ เพราะเคยทำพฤติกรรมนั้นแล้วไม่ถูกลงโทษ
4. ทำให้เกิดอารมณ์ไม่เหมาะสม และนำไปสู่การหลีกเลี่ยงและหลีกหนี
5. การลงโทษอาจนำไปสู่ความก้าวร้าว
6. การลงโทษไม่ได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม
7. การลงโทษที่รุนแรงอาจก่อให้เกิดปัญหาทางกายและใจ
การใช้การลงโทษ
1. Time-out คือ การเอาตัวเสริมแรงทางบวกออกจากบุคคล แต่ถ้าพฤติกรรมเด็กหยุดต้องเอากลับเข้ามาและเสริมแรงพฤติกรรมใหม่ทันที
2. Response Cost หรือ การปรับสินไหม คือ การดึงสิทธิ์หรือสิ่งของออกจากตัว เช่น
ปรับเงินคนที่ขับรถผิดกฎ
3. Verbal Reprimand หรือ การตำหนิ หลักคือ ห้ามตำหนิที่ Personality ต้องตำหนิที่ Behavior ใช้เสียงและหน้าที่เรียบๆ
เชือดเฉือนหัวใจ
4.
Overcorrection คือ การแก้ไขเกินกว่าที่ทำผิด แบ่งออกเป็น
4.1. Restitutional Overcorrection คือ
การทำสิ่งที่ผิดให้ถูก ใช้กับสิ่งที่ทำผิดแล้วยังแก้ไขได้ เช่น ทำเลอะแล้วต้องเช็ด
4.2. Positive-Practice Overcorrection คือ
การฝึกทำสิ่งที่ถูกต้อง ใช้กับสิ่งที่ทำผิดแล้วแก้ไขไม่ได้อีก เช่น
ฝึกทิ้งขยะให้ลงถัง
4.3. Negative-Practice คือ
การฝึกทำสิ่งที่ผิดเพื่อให้เลิกทำไปเอง เช่น ถ้าเด็กสูบบุหรี่ก็ให้สูบซิการ์
การใช้การลงโทษอย่างมีประสิทธิภาพ
1. เมื่อลงโทษแล้ว
พฤติกรรมต้องลด
2. การลงโทษต้องรุนแรง แต่ต้องไม่เกินกว่าเหตุ
3.
ควรเตือน 1 ครั้ง
ก่อนการลงโทษ และในการเตือนต้องพูดในสิ่งที่ทำได้จริง
4. พฤติกรรมที่จะถูกลงโทษ
ควรถูกบรรยายให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง
5. การลงโทษต้องสม่ำเสมอ
6. ถ้าเป็นไปได้ ควรปรับสภาพแวดล้อม เพื่อไม่ให้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์กลับมา
7. เมื่อลงโทษแล้ว ต้องมีการเสริมแรงพฤติกรรมใหม่
8.
เมื่อเกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ต้องลงโทษทันที
และต้องลงโทษในที่รโหฐาน
9. ควรอธิบายว่าทำไมพฤติกรรมนั้นถึงไม่ดี
ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedules
of Reinfarcement)
สภาพการณ์ที่สกินเนอร์พบว่าใช้ได้ผลในการควบคุมอัตราการตอบสนองก็ถึงการกำหนดระยะเวลา
(Schedules) ของการเสริมแรง การเสริมแรงแบ่งเป็น 4
แบบด้วยกัน คือ
1. Fixed Ratio
เป็นแบบที่ผู้ทดลองจะกำหนดแน่นอนลงไปว่าจะให้การ เสริมแรง 1 ครั้ง ต่อการตอบสนองกี่ครั้ง
หรือตอบสนองกี่ครั้งจึงจะให้รางวัล เช่น อาจกำหนดว่า ถ้ากดคานทุก ๆ 5 ครั้ง
จะให้อาหารหล่นลงมา 1 ก้อน(นั้นคืออาหารจะหล่นลงมาเมื่อหนูกดคานครั้งที่5,10, 15, 20.....)
2. Variable Ratio
เป็นแบบที่ผู้ทดลองไม่ได้กำหนดแน่นอนลงไปว่าจะต้องตอบสนองเท่านั้นเท่านี้ครั้งจึงจะได้รับตัวเสริมแรง
เช่น อาจให้ตัวเสริมแรงหลังจากที่ผู้ถูกทดลองตอบสนอง ครั้งที่ 4, 9, 12, 18, 22..... เป็นต้น
3. Fixed Interval
เป็นแบบที่ผู้ทดลองกำหนดเวลาเป็นมาตรฐานว่าจะให้ตัวเสริมแรงเมื่อไร เช่น
อาจกำหนดว่าจะให้ตัวเสริมแรงทุกๆ5นาที(คือให้ในนาทีที่5, 10, 15, 20.....)
4. Variable Interval
เป็นแบบที่ผู้ทดลองไม่กำหนดให้แน่นอนลงไปว่าจะให้ตัวเสริมแรงเมื่อใด
แต่กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ว่าจะให้การเสริมแรงกี่ครั้ง เช่น
อาจให้ตัวเสริมแรงในนาทีที่ 4, 7, 12, 14..... เป็นต้น)
ตัวอย่างการให้การเสริมแรง
ตารางการเสริมแรง
|
ลักษณะ
|
ตัวอย่าง
|
การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous)
|
เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่
แสดงพฤติกรรม |
ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้ว
เห็นภาพ |
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่แน่นอน (Fixed - Ratio) |
ให้การเสริมแรงโดยดูจาก
จำนวนครั้งของการตอบสนอง ที่ถูกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน |
การจ่ายค่าแรงตามจำนวน
ครั้งที่ขายของได้ |
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน (Variable - Ratio) |
ให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน |
การได้รับรางวัลจากเครื่อง
เล่นสล๊อตมาชีน |
การเสริมแรงความช่วงเวลาที่
แน่นอน (Fixed - Interval) |
ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
กำหนด |
ทุก ๆ สัปดาห์ผู้สอนจะทำ
การทดสอบ |
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
ไม่แน่นอน (Variable - Interval) |
ให้การเสริมแรงตามระยะเวลา
ที่ไม่แน่นอน |
ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลา
ที่ต้องการ |
ลักษณะของตัวเสริมแรง
1. Material Reinforcers คือ
ตัวเสริมแรงที่เป็นวัตถุสิ่งของ เช่น มือถือ ขนม
2. Social Reinforcers เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม
2.1. Verbal เป็นคำพูด เช่น การชม
(ต้องชมพฤติกรรมที่แสดงออก ไม่ใช่บุคลิกภาพ)
2.2. Nonverbal ภาษากาย เช่น กอด
(การกอดเป็น The Best Social Reinforcers ซึ่งต้องใช้กับ Positive
Behavior)
หมายเหตุ: ถ้า Verbal ไม่สัมพันธ์กับ Nonverbal
คนเราจะเชื่อ Nonverbal มากกว่า
3. Activity Reinforcers เป็นการใช้กิจกรรมที่ชอบทำที่สุดมาเสริมแรงกิจกรรมที่อยากทำน้อยที่สุด
โดยต้องทำตาม Premack Principle คือ
ให้ทำสิ่งที่อยากทำน้อยที่สุดก่อน แล้วจึงให้ทำกิจกรรมที่ชอบที่สุด เช่น
เด็กที่ชอบกิน Chocolate แต่ไม่ชอบเล่น Pinball ก็ให้เล่น Pinball ก่อนแล้วจึงให้กิน Chocolate
หมายเหตุ: ถ้าสิ่งใดเป็นของตาย
คือจะทำหรือไม่ทำก็ได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว สิ่งนั้นจะเป็นตัวเสริมแรงไม่ได้อีกต่อไป
4. Token Economy จะเป็นตัวเสริมแรงได้เฉพาะเมื่อแลกเป็น
Backup Reinforcers ได้ เช่น
เงินธนบัตรก็เป็นแค่กระดาษใบหนึ่ง แต่ว่ามันใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น
ถ้ามันใช้ชำระหนี้ไม่ได้ก็เป็นแค่กระดาษใบหนึ่ง เงินมีอิทธิพลสูงสุด
5.
Positive Feedback หรือการให้ข้อมูลป้อนกลับทางบวก
จับเฉพาะจุดบวก มองเฉพาะส่วนที่ดี เช่น บอกเด็กว่า หนูทำงานส่วนนี้ได้ดีมาก
แต่ส่วนที่เหลือเอากลับไปแก้นะ
6. Intrinsic Reinforcers หรือตัวเสริมแรงภายใน
เช่น การชื่นชมตัวเอง ไม่ต้องให้มีใครมาชม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมแรง
1.Timing การเสริมแรงต้องทำทันที
เช่น แฟนตัดผมมาใหม่ต้องชมทันที ถ้าช้า จะถูกตำหนิ
2. Magnitude & Appeal การเสริมแรงต้องตอบสนองความต้องการอย่างพอเหมาะ อย่ามากไปหรือน้อยไป
3.
Consistency การเสริมแรงต้องให้สม่ำเสมอ
เพราะจะได้รู้ว่าทำแล้วต้องได้รับการเสริมแรงอย่างแน่นอน
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การกระทำใดๆ
ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงแนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลง
และหายไปในที่สุด
2. การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้เกิดการตอบสนองกว่า
การเสริมแรงที่ตายตัว
3. การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ
สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิวัยที่ต้องการได้
การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้
1. ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรม (Shaping
Behavior) หลักสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์
คือ เราสามารถควบคุมการตอบสนองได้ด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ
เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะเมื่อมีการตอบสนองที่ต้องการ
เพื่อให้กลายเป็นนิสัยติดตัวต่อไป
อาจนำไปใช้ในการปลูกฝังบุคลิกภาพของบุคคลให้มีพฤติกรรมตามแบบที่ต้องการได้
การแสดงพฤติกรรมสาธารณะ
1. การเสริมแรงทางบวก (Positive
Reinforcement) เมื่อมีการแสดงออก
ซึ่งพฤติกรรมจิตสาธารณะ ซึ่งอาจใช้ตัวเสริมแรงได้เป็น 4
ประเภท คือ
1.1 ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ ( material reinforce
) เป็นตัวเสริมแรงที่ประกอบได้ด้วยอาหาร
ของที่เล่นได้ และสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ของเล่น รถยนต์
1.2 ตัวเสริมแรงทางสังคม ( social reinforce ) ตัวเสริมแรงทางสังคมเป็นตัวเสริมแรงที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหามีอยู่กับตัวเราและค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพสูงในการปรับพฤติกรรม
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ คำพูด ได้แก่ คำชมเชย เช่น ดีมาก
น่าสนใจมาก และการแสดงออกทางท่าทาง เช่น ยิ้ม จับมือ
1.3 ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม ( activity reinforce)
เป็นการใช้กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ชอบไปเสริมแรงกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่ชอบ
1.4 ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร (token reinforce)
โดยการนำเบี้ยอรรถกรไปแลกเป็นตัวเสริมแรงอื่นๆได้ เช่น ดาว คูปอง
โบนัส เงิน คะแนน
2. การเสริมแรงทางลบ ( negative reinforcement )
เป็นการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมคงที่หรือเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งการเสริมแรงทางลบของผู้สอนควรปฏิบัติ คือ ทำทันทีหรือเร็วที่สุด
เมื่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น
ควรให้มีความรุนแรงพอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
ควรให้ผู้ถูกลงโทษรู้ว่าพฤติกรรมใดที่ถูกลงโทษและเพราะเหตุใด ควรใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์
ควรใช้การลงโทษควบคู่กับการเสริมแรงบวก ผู้ลงโทษต้องเป็นตัวแบบที่ดีในทุกๆด้าน
และการลงโทษควรเป็นวิธีสุดท้าย ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้การลงโทษ
3. การกำจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
1.
ไม่สนใจ แต่ระวัง การเรียกร้องความสนใจ
2.
เสริมแรงทุกพฤติกรรมที่ไม่ใช่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
3.
เสริมแรงพฤติกรรมอื่นแทน
4.
เสริมแรงพฤติกรรมที่ไม่ทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิด
เช่น เสริมแรงพฤติกรรมนั่ง เพื่อที่พฤติกรรมลุกจะได้ไม่เกิด (Incompatible
Behavior)
4. การเรียนการสอน
1.
Observable & Measurement คือ สังเกตและวัดได้ เช่น
หลังเรียนคอร์สนี้จบแล้วจะสามารถอธิบายทฤษฎีได้
2.
Conditions คือ เงื่อนไข เช่น เมื่อกำหนดแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบให้
สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่างๆได้
3.
Criterion คือ เกณฑ์ เช่น
หลังเรียนคอร์สนี้จบแล้วจะสามารถทำข้อสอบ O-NET ได้ 80%
4.
Programmed Instruction and Computer-Assisted Instruction เช่น
ใช้โปรแกรมช่วยสอนสำเร็จรูป
5.
Mastery Learning คือ เรียนให้ประสบความสำเร็จไปทีละขั้น
เช่น ต้องสอบบทที่ 1 ให้ผ่าน จึงจะสอนบทต่อไป
สรุปแนวคิดที่สำคัญของ
สกินเนอร์ Skinner
“สกินเนอร์” ได้กล่าวไว้ว่า “
การเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้บุคลแสดงพฤติกรรมซ้ำ
และพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมแบบเรียนรู้ปฏิบัติและพยายามเน้นว่า
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆของบุคคล สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว
หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด การตอบสนองจะลดลงเมื่อนั้น ’’
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น