ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน ทฤษฎีการเรียนรู้



ทฤษฎีการวางเงือนไขแบบคาสสิคของวัตสัน

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
        1. การนำความต้องการทางธรรมชาติของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้า
สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีเช่น ถ้าเด็กชอบเล่นหุ่นยนต์ ครูควรสอนให้เด็กอ่านและเขียนคำศัพท์ต่างๆในบทเรียนโดยให้หุ่นยนต์เป็นรางวัล
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
       2.ในการสร้างพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้นในผู้เรียน ควรพิจารณาสิ่งจูงใจหรือสิ่งเร้าเร้าที่เหมาะสมกับภูมิหลังและความต้องการของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้าควบคู่ไปกับสิ่งเร้าวางเงื่อนไข เช่น ถ้าอยากให้นักเรียนตอบคำถาม ครูควรแสดงท่าทางของความอบอุ่นและให้กำลังใจจะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ ทำเช่นนี้สม่ำเสมอ
เด็กจะเกิดการเรียนรู้ และมีความคงทนในการแสดงพฤติกรรม
       3. ขณะสอนครูควรสังเกตการกระทำหรือการเคลือนไหวของผู้เรียนว่ากำลังเกี่ยวพันกับสิ่งเร้าใดถ้าครูให้สิ่งเร้า
ที่เกี่ยวพันกับการเคลื่อนไหวนั้นน้อยกว่าก็จะไม่สามารถเปลี่ยนการกระทำของผู้เรียนได้
      4.ในการสอน ควรวิเคราะห์งานออกเป็นส่วนย่อยๆและสอนหน่วยย่อยเหล่านั้นให้เด็กสามารถตอบสนองอย่างถูกต้องจริงๆหรือได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้องในทุกๆหน่วย
     5. ในการจบบทเรียนไม่ควรปล่อยให้ผู้เรียน จบโดยได้คำตอบผิดๆหรือแสดงอาการตอบสนองผิดๆเพราะเขาจะเก็บการกระทำครั้งสุดท้ายไว้ในความทรงจำใช้แบบแผนในการทำจนเป็นนิสัย
       6.  การสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ในการสอนจึงควรมีการจูงใจผู้เรียน





__________________________________________________________________________________

ทฤษฎีการวางเงือนไขแบบคาสสิคของพาฟลอฟ

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
        1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
        2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์
        3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข
        4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง






__________________________________________________________________________________

ทฤษฎีของเบนดูรา

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
            1. ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
            2.  การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎี ปัญญาสังคมทั้งสิ้น ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ ความผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ ไม่ว่าครูจะพร่ำบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจจดจำ แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว






__________________________________________________________________________________

ทฤษฎีของกลุ่มเกสตัล

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
            1.  ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น
            2.   เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี้
                        --เน้นความแตกต่าง
                        --กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล
                        --กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม
                        --กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ
                        --กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น
            3. การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
            4. คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้ และควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย
            5. บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ในLife space ของผู้เรียนได้





__________________________________________________________________________________

ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
            1.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
            2.สำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียน
                        - การสอนให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้  และต้องให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
                        - การให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ






__________________________________________________________________________________

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำสกินเนอร์

การประยุกต์ช้ในด้านเรียนการสอน
            1. การใช้กฎการเรียนรู้ กฎที่ 1 คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใดมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เช่นทึกครั้งที่ผู้เรียนตอบคำถามถูก ครูจะรีบเสริมแรงทันที อาจเป็นคำชม เครื่องหมายรูปดาว เป็นต้น ซึ่งเหมาะในการใช้กับเด็กเล็ก เช่น ชั้นอนุบาล ประถม ส่วนกฎที่ 2 คือกฎการเสริมแรงเป็นครั้งเป็นคราวมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้นานต่อไปเรื่อย ๆ แล้วแต่จะ
เหมาะสมของผู้เรียน และโอกาสที่จะใช้ซึ่งเหมาะสมสำหรับเด็กโต เป็นต้น
            2. บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Learning) บทเรียนสำเร็จเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1954 จากแนวความคิดของสกินเนอร์ จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขในห้องเรียน ผู้เรียนแต่ละคนได้รับการเสริมแรงน้อยและยังห่างจากเวลาที่แสดงพฤติกรรม เป็นเวลานานเกินไปจนขาดประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหานี้เขาจึงเสนอบทเรียนสำเร็จรูป โดยมีจุดประสงค์ว่าผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันทีที่แสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องบทเรียนจะแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยและข้อย่อย ๆ มี 2 ลักษณะ คือ
                        2.1 การจัดเรียงบทเรียนเป็นเส้นตรง (Linear Programming) ลำดับขั้นของบทเรียนจากง่ายไปยากโดยเริ่มจากหน่วยแรกไปเรื่อยตามลำดับโดยถือว่าการเรียนขั้นแรกเป็นพื้นฐานของขั้นตอนต่อไปและมีคำถามในลักษณะเติมคำในช่องว่างให้ผู้เรียนตอบ มีคำเฉลยไว้ก่อนเมื่อตอบแล้วจึงเปิดดู เหมาะสำหรับวิชาที่เรียงตามลำดับขั้นตอน
                        2.2 บทเรียนที่มีเป็นตอน (Branching Programming) เป็นบทเรียนที่ผู้เรียนมีโอกาสทีได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมในกรณีที่ตอบคำถาไม่ถูก ส่วนวิธีเรียนก็เรียงจากง่ายไปยากแต่ลักษณะคำถามจะเป็นแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) เมื่อผู้เรียนตอบคำถามหมดแล้วจึงพลิกไปดูคำเฉลย
                        2.3 การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) คือการปรุงแต่งพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการซึ่งมี 3 ลักษณะคือ
                                    2.3.1 การเพิ่มพฤติกรรมหรือคงพฤติกรรมเดิมที่เหมาะสมไว้
                                    2.3.2 การสร้างเสริมพฤติกรรมใหม่
                                    2.3.3 การลดพฤติกรรม
                        2.4 การสอนวิธีการพูด หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมทางวาจา (Verbal Behavior) สกินเนอร์ได้ผลิตเครื่องบันทึกเสียงขึ้นในปี ค.ศ. 1963 เพื่อใช้ฟังเสียง การอ่านการพูดซึ่งเป็นประโยชน์มากในวงการด้านภาษา เข้ากล่าวว่า ภาษาพูดเกิดขึ้นจากการเรียนรู้เมื่อได้รับการเสริมแรง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น