ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล
(A
Theory of Meaningful Verbal Learning David
p. Ausubel)
ออซูเบล(Ausubel
, David 1963) เป็นนักจิตวิทยาแนวปัญญานิยม
ออซูเบลกล่าวไว้ว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน
หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ
จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
ออซูเบล แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภท
ดังต่อไป
1. การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful
Reception Learning)
2. การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote
Reception Learning)
3.การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย (Meaningful
Discovery Learning)
4. การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง
(Rote Discovery Learning)
ออซูเบล สนใจที่จะหากฎเกณฑ์และวิธีการสอนการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ไม่ว่าจะเป็นโดยการรับหรือค้นพบ
เพราะออซูเบลคิดว่าการเรียนรู้ในโรงเรียนส่วนมากเป็นการท่องจำโดยไม่คิด
การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful
Reception Learning)
ออซูเบล
ให้ความหมายว่า เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอนอธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ฟังและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ
โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์กับโครงสร้าง พุทธิปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ
และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต
ออซูเบลกล่าวว่าทฤษฎีของท่านมีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายการเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธิปัญญาเท่านั้น
(Cognitive learning) ไม่รวมการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
การเรียนรู้ทักษะทางมอเตอร์ (Motor Skills learning) และการเรียนรู้โดยการค้นพบ
ออซูเบล ได้บ่งว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้นอยู่กับตัวแปร 3
อย่าง ดังต่อไปนี้
1. สิ่ง (Materials) ที่จะต้องเรียนรู้จะต้องมีความหมาย
ซึ่งหมายความว่าจะต้องเป็นสิ่งที่มี
ความสัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้และเก็บไว้ในโครงสร้างพุทธิปัญญา (cognitive
structure)
2. ผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์
และมีความคิดที่จะเชื่อมโยงหรือจัดกลุ่มสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้สัมพันธ์กับความรู้หรือสิ่งที่เรียนรู้เก่า
3. ความตั้งใจของผู้เรียนและการที่ผู้เรียนมีความรู้-คิดที่จะเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างพุทธิปัญญา
(Cognitive Structure) ที่อยู่ในความทรงจำแล้ว
ออซูเบลได้แบ่งการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็น 3
ประเภท คือ
1. Subordinate learning เป็นการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย
โดยมีวิธีการ 2 ประเภท คือ
1.1 Deriveration Subsumption เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่กับหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่เคยเรียนมาแล้ว
โดยการได้รับข้อมูลมาเพิ่ม เช่น มีคนบอก
แล้วสามารถดูดซึมเข้าไปในโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีอยู่แล้วอย่างมีความหมาย
โดยไม่ต้องท่องจำ
1.2 Correlative subsumption เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายเกิดจากการขยายความ
หรือปรับโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีมาก่อนให้สัมพันธ์กับสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่
2. Superordinate learning เป็นการเรียนรู้โดยการอนุมาน
โดยการจัดกลุ่มสิ่งที่เรียนใหม่เข้ากับความคิดรวบยอดที่กว้างและครอบคลุมความคิดยอดของสิ่งที่เรียนใหม่
เช่น สุนัข แมว หมู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
3. Combinatorial learning เป็นการเรียนรู้หลักการ
กฎเกณฑ์ต่างๆเชิงผสม ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ โดยการใช้เหตุผล หรือการสังเกต
เช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับระยะทางในการที่ทำให้เกิดความสมดุล
แนวทางการสอนที่ได้จากทฤษฎีนี้
ใช้เทคนิคการสอนแบบ Advance Organizer คือเป็นวิธีการสร้างการเชื่อมช่องว่างระหว่างความรู้ที่ผู้เรียนได้รู้แล้ว
(ความรู้เดิม) กับความรู้ใหม่ที่ได้รับ ที่จำเป็นจะต้อง
เรียนรู้เพื่อผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจเนื้อหาใหม่ได้ดีและจดจำได้ดีขึ้น
โดยมีขั้นตอนดังนี้
-
การจัด เรียบเรียง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เรียนรู้
ออกเป็นหมวดหมู่ หรือ
-
นำเสนอกรอบ หลักการกว้างๆ ก่อนที่จะให้เรียนรู้ในเรื่องใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น