ทฤษฎีพัฒนาการ




ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์




           ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวเวียนนาได้ศึกษาวิเคราะห์จิตของมนุษย์ และอธิบายว่า พลังงานจิตทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ มี 3 ลักษณะ คือ
          1. จิตสำนึกหรือจิตรู้สำนึก (Conscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ได้แก่ การแสดงพฤติกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง
          2. จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่ระลึกถึงได้
                รองศาสตราจารย์กลมรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2528 : 35)ได้กล่าวถึง Subconscious mind  ว่าหมายถึงส่วนของจิตใจที่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรม ในขณะนั้น แต่ เป็นส่วนที่รู้ตัว สามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เช่น ซันนี่มีน้องสาวคือจินนี่ซึ่งกำลังตกหลุมรักซันแต่จินนี่เกรงว่ามารดาจะทราบความจริงจึงบอกพี่สาวมิให้เล่าให้มารดาฟัง ซันนี่เก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ มิได้แพร่งพรายให้ผู้ใดทราบโดยเฉพาะมารดาแต่ในขณะเดียวกันก็ทราบอยู่ตลอดเวลาว่าจินนี่รักซันถ้าเขาต้องการเปิดเผย เขาก็จะบอกได้ทันที ลักขณา สริวัฒน์ (2530 : 9) กล่าวถึง Subconscious mind ว่าผลมันเกิดจากการขัดแย้งกันระหว่างพฤติกรรมภายใต้อิทธิพลจิตรู้สำนึกกับอิทธิพลของจิตใต้สำนึกย่อมก่อให้เกิดการหลอกลวงตัวเองขึ้นภายในบุคคล
           3. จิตไร้สำนึกหรือจิตใต้สำนึก (Unconscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้
                กมลรัตน์       หล้าสุวงษ์ (2524 : 121) กล่าวว่า จิตไร้สำนึกเป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจมีการเก็บกด(Repression) เอาไว้อาจเป็นเพราะถูกบังคับหรือไม่สามารถแสดงอาการโต้ตอบได้ในขณะนั้นในที่สุดก็จะฝังแน่นเข้าไปจนเจ้าตัวลืมไปชั่วขณะจะแสดงออกมาในลักษณะการพลั้งเผลอ เช่น พลั้งปากเอ่ยชื่อ คนรักเก่าต่อหน้าคนรักใหม่ เป็นต้น
                คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2530 : 16) กล่าวว่าสิ่งที่มีอิทธิพลจูงใจพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุดก็คือส่วนที่เป็นจิตใต้สำนึกและสิ่งที่คนเรามักจะเก็บกดลงไปที่จิตใต้สำนึก ก็คือความต้องการก้าวร้าวกับความต้องการทางเพศซึ่งจะมีแรงผลักดัน
นอกจากนี้ ฟรอยด์ ยังได้ศึกษาถึงโครงสร้างทางจิตพบว่าโครงสร้างทางจิตประกอบด้วย
          1. อิด (Id)
          2. อีโก้ (Ego)                     
          3. ซุปเปอร์อีโก้ (Superego)  



         
         
                                                                                      
        
              1. อิด (Id)  หมายถึงตัณหาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัดเกลา ซึ่งทำให้ มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อความพึงพอใจของตนเองหรือทำตามหลักของความพอใจ (Pleasure principle)
เปรียบเหมือนสันดานดิบของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นสัญชาติญาณแห่งการมีชีวิต (Life instinct) เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย กับสัญชาติญาณแห่ง ความตาย (Death instinct) เช่น ความก้าวร้าวหรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น บุคคลจะแสดงพฤติกรรมตามความพอใจของเขาเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงค่านิยมของสังคมและความพอใจของ บุคคลอื่นจึงมักเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามครรลองของมาตรฐานในสังคมบุคคลที่มีบุคลิกภาพเช่นนี้ มักได้รับการประณามว่ามีบุคลิกภาพไม่ดีหรือไม่เหมาะสม                  
              2. อีโก้ (Ego) หมายถึง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id โดยอาศัยกฎเกณฑ์ ทางสังคมและหลักแห่งความจริง (Reality principle) มาช่วยในการตัดสินใจไม่ใช่แสดงออกตามความพอใจของตนแต่เพียงอย่างเดียวแต่ต้องคิดแสดงออกอย่างมีเหตุผลด้วยนั่นคือบุคคลจะแสดงพฤติกรรม โดยมีเหตุและผลที่เหมาะสมกับกาลเทศะในสังคมจึงเป็นบุคลิกภาพที่ได้รับการยอมรับมากในสังคมในคนปรกติที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข ฟรอยด์เชื่อว่าเป็นเพราะมีโครงสร้างส่วนนี้แข็งแรง            
              3. ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) หมายถึงมโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์การอบรมสั่งสอนโดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยาขนบธรรมเนียมประเพณีและค่านิยมต่างๆในสังคมนั้น Superego จะเป็นตัวบังคับและควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม โดยยึดหลักค่านิยมของสังคม (Value principle)ที่ตัดสินว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีในสังคมกล่าวคือบุคคลจะแสดงพฤติกรรมตามขอบเขตที่สังคมวางไว้แต่บางครั้งอาจไม่เหมาะสม เช่น เมื่อถูกยุงกัดเต็มแขน-ขาก็ไม่ยอมตบยุง เพราะกลัวบาปหรือสงสารคนขอทานให้เงินเขาไปจนหมดในขณะที่ตนเองหิวข้าวไม่มีเงินจะซื้ออาหารกินก็ยอมทนหิว เป็นต้น         
                กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2524 : 122 - 123) กล่าวว่าใครก็ตามที่มีบุคลิกภาพเช่นนี้มักได้รับการยกย่อง ทั้งนี้เพราะบางครั้งพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นอาจเกิดความไม่พอใจในตนเองแต่เพื่อต้องการให้เป็นที่ ยอมรับในสังคม ดังนั้นแม้เขาแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่ขัดต่อค่านิยมของสังคมเขาจะเกิดความรู้สึกผิด (Guilt feeling or Guilty) ทันทีถ้าไม่มีการระบายออกเก็บกดไว้มากๆอาจระเบิดออกมากลายเป็นโรคผิดปกติทางจิตได้   
               ฟรอยด์ กล่าวว่าในบุคคลทั่วไปมักมีโครงสร้างทั้ง 3 ส่วนนี้แต่ส่วนที่แข็งแรงที่สุดมักเป็นอีโก้ซึ่งทำหน้าที่คอยประนีประนอมระหว่างอิดและซุปเปอร์อีโก้ให้แสดงออกตามความเหมาะสมของสถานการณ์ในขณะนั้น เช่น คอยกดอิดมิให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาเมื่อยังไม่ถึงเวลาหรือคอยดึงซุปเปอร์อีโก้ไว้มิให้แสดงพฤติกรรมที่ดีงามจนเกินไปจนตนเองเดือดร้อน ถ้าคนที่มีจิตผิดปกติ เช่น เป็นโรคจิต โรคประสาท คือคนที่อีโก้แตก (Break down) ไม่สามารถคุมอิดและซุปเปอร์อีโก้ไว้ได้ มักจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะกับเหตุผล เช่น เกิดอาการคุ้มดีคุ้มร้ายคุ้มดีคือส่วนของซุปเปอร์อีโก้แสดงออกมาคุ้มร้ายคือส่วนของอิดแสดงออกมา ฯลฯ                     
                ดร. อารี รังสินันท์ (2530 : 15 - 16) กล่าวว่าโครงสร้างจิต 3 ระบบนี้มีส่วนสัมพันธ์กันถ้าทำงาน สัมพันธ์กันดีการแสดงออกหรือบุคลิกภาพก็เหมาะสมกับตนแต่ถ้าโครงสร้างทั้ง 3 ระบบ ทำหน้าที่ขัดแย้งกันบุคคลก็จะมีพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพที่ไม่ราบรื่นปกติหรือไม่เหมาะสมแนวความคิดกลุ่มนี้เน้น จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) จิตไร้สำนึกนี้จะ รวบรวมความคิด ความต้องการ และประสบการณ์ที่ผู้เป็นเจ้าของจิตไม่ต้องการจะจดจำจึงเก็บกดความรู้สึกต่างๆเหล่านี้ไว้อยู่ในจิตส่วนนี้และหากความคิด ความต้องการหรือเกิดพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่รู้ตัว          
                อนึ่ง ประสบการณ์ในชีวิตวัยเด็กโดยเฉพาะช่วงแรกเกิดถึง 5 ขวบที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูที่ได้รับจะฝังแน่นอยู่ในจิตไร้สำนึกและอาจจะแสดงออกเมื่อถูกกระตุ้นโดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่                
               ฟรอยด์ บอกว่าจิตไร้สำนึกเป็นสาเหตุให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมและพฤติกรรมที่ฝังแน่นในอดีต เป็นเหตุให้แสดงพฤติกรรมออกมาในปัจจุบันและอนาคต อนึ่งพฤติกรรมทั้งหลายที่แสดงออกมานั้น ท้ายที่สุดก็เพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศ (Sexual need) นั่นเอง
               ฟรอยด์ เน้นประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็กมากโดยเฉพาะในช่วงชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบ ประสบการณ์ต่างๆที่เด็กได้รับในช่วงนี้โดยเฉพาะสิ่งที่ประทับใจวิธีการอบรมเลี้ยงดูมักจะฝังแน่นอยู่ในจิตไร้สำนึกและจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในช่วงชีวิตที่เป็นผู้ใหญ่ต่อมาซึ่งค้านกับความเห็นของนัก จิตวิทยากลุ่มอื่นหรือนักการศึกษาที่เชื่อว่าไม่มีผู้ใดจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ในช่วงชีวิตตั้งแต่ 5 ขวบลงไปจนถึงแรกเกิดได้แต่ฟรอยด์บอกว่า สิ่งเหล่านี้มิได้หายไปไหนแต่กลับฝังลึกลงไปในส่วนของจิตที่เรียกว่า จิตไร้สำนึก (กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. 2528 : 36)

พัฒนาการของมนุษย์ 5 ขั้น ของฟรอยด์
            ผ.ศ. ดร. อารี รังสินันท์ (2530: 15 - 16)    ได้กล่าวถึงการแบ่งขั้นพัฒนาการของมนุษย์ของฟรอยด์ว่าแบ่งเป็น 5 ขั้น คือ
1. ขั้นปาก (Oral Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิด - 2 ขวบ
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) อายุ 2 - 3 ขวบ
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) อายุ 3 - 5 ขวบ
4. ขั้นแฝง (Latent Stage) อายุ 6 - 12 ขวบ
5. ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage) อายุ 13 - 18 ขวบ
            รองศาสตราจารย์ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2528: 37 - 39) ได้กล่าวถึงการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ของฟรอยด์ว่าฟรอยด์ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์แตกต่างจากนักจิตวิทยาท่านอื่นกล่าวคือ ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกในแต่ละช่วงชีวิตแตกต่างกันซึ่งฟรอยด์เรียกว่าอีโรจีนัสโซน (Erogenus zone) จึงได้แบ่งขั้นพัฒนาการตามอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกออกเป็น 5 ขั้น และได้กล่าวถึงแต่ละขั้นไว้ ดังนี้
           1. ขั้นปาก (Oral Stage) ขั้นนี้เด็กต้องการการตอบสนองทางปากมากที่สุดเนื่องจากปากเป็นอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกมากที่สุดในช่วงชีวิตนี้ความสุขความพอใจของเด็กอยู่ที่การได้รับการตอบสนองทางปาก เช่น การดูดนม การสัมผัสสิ่งแปลกใหม่ด้วยปาก ฯลฯ ถ้าเด็กได้รับการตอบสนองเต็มที่เมื่อโตขึ้นจะมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมไม่พยายามใช้ปากมากเกินไปรู้จักพูดหรือใช้ปากได้เหมาะกับกาลเทศะ หากเด็กได้รับการขัดขวางต่อการตอบสนองทางปากในวัยนี้ เช่น การหย่านมเร็วเกินไปถูกตีเมื่อนำของเข้าปากทำให้เด็กรู้สึกกระวนกระวายและเรียกร้องที่จะชดเชยการตอบสนองทางปากนั้น เมื่อมีโอกาสเรียกว่าเกิดการหยุดยั้งพัฒนาการทางปาก (Oral Fixation) เมื่อมีโอกาสหรือโตเป็นผู้ใหญ่มักมีบุคลิกภาพที่ชอบใช้ ปาก เช่น ชอบนินทาว่าร้าย ชอบสูบบุหรี่ รับประทางอาหารบ่อย ๆ เกินความจำเป็น เป็นต้น


     
           2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) ขั้นนี้ เด็กต้องการตอบสนองทางทวารหนักมากที่สุดมากกว่าทางปาก เช่น พัฒนาการขั้นแรกเด็กวัยนี้จึงไม่ชอบรับประทานมากเท่ากับการเล่นโดยเฉพาะการเล่นที่สัมผัสทางทวารหนักตลอดจนความสุขในการขับถ่ายซึ่งตรงกับการฝึกหัดขับถ่าย (Toilet Training) ของเด็กวัยนี้ถ้าผู้ใหญ่ที่เข้าใจจะรู้จักผ่อนปรนค่อยๆฝึกเด็กให้รู้จักขับถ่ายได้ด้วยวิธีที่นุ่มนวลการพัฒนาการขั้นนี้ก็ไม่มีปัญหาเด็กโตขึ้นจะมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมแต่ถ้าเกิดการหยุดยั้งพัฒนาการขั้นนี้ (Anal Fixation) เนื่องจากผู้ใหญ่บังคับเด็กในการฝึกหัดขับถ่ายมากเกินไป เช่น ต้องขับถ่ายเป็นเวลาถ้าไม่ทำตามจะถูกลงโทษจะทำให้เกิดความไม่พอใจฝังแน่นเข้าไปสู่จิตไร้สำนึกโดยไม่รู้ตัวและแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นชัด 2ลักษณะที่ตรงกันข้าม คือ อาจจะมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งแล้วแต่ความเข้มทางบุคลิกภาพของเด็ก นั้นๆ คือ
ก. บุคลิกภาพแบบสมบูรณ์(Perfectionist) คือเป็นคนเจ้าระเบียบ จู้จี้ ย้ำคิดย้ำทำ กังวลมากเกินไป โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดลักษณะนี้มักเกิดกับเด็กที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอ
ข. บุคลิกภาพแบบอันธพาล (Anti social) คือเป็นคนไม่ยอมคนชอบคัดค้านค่านิยมหรือระเบียบแบบแผนที่วางไว้ลักษณะนี้มักเกิดกับเด็กที่มีบุคลิกภาพเข้มแข็งนอกจากนี้ยังพบว่าคนที่มี Anal Fixation นี้ยังเป็นนักสะสมสิ่งของต่างๆตลอดจนมีพฤติกรรมอ่านหนังสือพิมพ์บนโถส้วมนานๆชอบนั่งที่ใดที่หนึ่งนานๆด้วย


     
           3. ขั้นอวัยวะเพศหรือขั้นความรู้สึกทางเพศแบบแฝง (Phallic Stage) ขั้นนี้ เด็กเริ่มเกิดความรู้สึกทางเพศแต่เป็นแบบแฝงกล่าวคือมิได้หมายความว่าเด็กวัยนี้เกิดความรู้สึกทางเพศโดยตรงได้แก่ อยากมีคู่ครองแต่หมายถึงความรู้สึกผูกพันที่เกิดขึ้นต่อบิดามารดาที่มีเพศตรงข้ามกับเด็ก เช่นเด็กหญิงรักและติดพ่อ หวงแหนพ่อแทนแม่ ฟรอยด์อธิบายว่าในขณะเดียวกันเด็กจะรู้สึกอิจฉาแม่เพราะเรียนรู้ว่าพ่อรักแม่ เกิดปมอ(Oedipus Complex)ขึ้นเห็นแม่เป็นคู่แข่งและพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของแม่ซึ่งเป็นแบบฉบับของสตเพศทำให้เด็กหญิงมีลักษณะเป็นหญิงเมื่อโตขึ้น ในทำนองเดียวกันเด็กชายก็จะรักและติดแม่หวงแหนและเป็นห่วงแม่ ฟรอยด์อธิบายว่าเด็กชายจะรู้สึกอิจฉาพ่อเพราะเรียนรู้ว่าแม่รักพ่อเกิดปมอิจฉา(Oedipus Complax) พ่อ เห็นพ่อเป็นคู่แข่งพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อซึ่งเป็นแบบฉบับของบุรุษเพศทำให้เด็กชายมีลักษณะเป็นชายอย่างสมบูรณ์เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น Oedipus Complax จึงเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการได้เหมาะสมกับเพศของเขาตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ เป็นการพัฒนาการเป็นไปตามลำดับขั้นอย่างดียิ่งแต่ถ้าเกิดการหยุดยั้งพัฒนาการของขั้นนี้ (Phallic Fixation) จะเกิดพฤติกรรมดังนี้ เด็กหญิงขณะที่เลียนแบบแม่ซึ่งเป็นแบบฉบับถ้าแม่เป็นแบบฉบับไม่ดี เด็กไม่ศรัทธาในที่สุดเด็กก็จะหันไปเลียนแบบพ่อเนื่องจากมีความนิยมศรัทธาอยู่เป็นทุนเดิมแล้วพฤติกรรมที่ปรากฏก็คือ เด็กผู้หญิงเป็นลักเพศ (Lesbian) คือ มีพฤติกรรมและความรู้สึกเยี่ยงชายในทำนองเดียวกัน เด็กชายขณะที่เลียนแบบพ่อซึ่งเป็นแบบฉบับ ถ้าพ่อเป็นแบบฉบับไม่ดีเด็กไม่ศรัทธาในที่สุดเด็กก็จะหันไปเลียนแบบแม่โดยตรง เพราะรักและศรัทธาแม่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วพฤติกรรมที่ปรากฏก็คือ 
เด็กชายเป็นลักเพศ(Homosexual)

     
          4. ขั้นแฝง (Latent Stage) เป็นระยะก่อนที่เด็กจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยรุ่น                                                กิติกร มีทรัพย์ (2530 : 70 - 71)กล่าวถึงเด็กวัยรุ่นซ่อนเร้นหรือลาเทนซี่ (Latency) ว่า การเติบโตทางกายค่อยๆช้าลงแต่การเติบโตทางจิตใจ (Memtal awarenss) ไปเร็วมากเด็กๆมักถูกมองว่า"แสนรู้" หรือ "แก่แดด" เด็กจะรู้จักพิพากษ์วิจารณ์สนใจไปในทางค้นหาค้นคว้าต่างๆสนใจสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่มิได้ขาดเด็กบางคนอาจพูดในสิ่งที่แหลมคมที่ทำให้ผู้ใหญ่คิดและน่าทึ่งหรือพูดอะไรเชยๆนักจิตวิทยาชาวสวีเดนผู้หนึ่ง ชื่อ เดวิด บียอร์กลุนด์ เป็นศาสตราจารย์ วิชาจิตวิทยามหาวิทยาลัยฟลอริดาในอเมริกากล่าวว่า เมื่อเด็กวัย Latency มีความคิดใคร่ครวญ ผู้ใหญ่ ไม่ควรละเลย ดูด้วยที่จะให้เด็กได้คิดเรื่องหนัก ๆ บ้างตามความสนใจของเขาตั้งแต่การวางแผนงานบ้าน การบ้าน หรือสร้างวินัยในบ้านให้เขาได้มีโอกาส รับรู้หรือมีส่วนร่วมกับปัญหารายรับ - รายจ่ายในครัวเรือน ปัญหาคณิตศาสตร์ง่ายๆหรือปัญหาประสบการณ์ชีวิตบางประการซึ่งผู้ใหญ่เคยคิดว่าเขาไม่รู้หรือไม่ควรรู้

     
          5. ขั้นวัยรุ่น (Genital Stageเด็กหญิงจะเริ่มสนใจเด็กชายและเด็กชายจะเริ่มสนใจเด็กหญิงเป็นระยะที่เด็กจะมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศอย่างแท้จริงพฤติกรรมทางเพศของบุคคลในวัยนี้จึงมีลักษณะที่บ่งถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์หรือความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มที่พัฒนาการทางเพศที่เกิดขึ้นในระยะนี้ เรียกว่า ขั้นวุฒิภาวะทางเพศอันมิได้หมายถึงอวัยวะเพศอย่างเดียวรวมถึงพฤติกรรมที่แสดงถึงวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์และสติปัญญาเด็กชายจะเปลี่ยนจากการหลงรักแม่ตนเองไปและเด็กหญิงก็จะหันจากหลงรักพ่อไปรักเพศชายทั่วไป




ทฤษฎีจิตสังคมของอิริคสัน


ประวัติ

         ทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological Environment) ว่ามีบทบาทใน
พัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต คือ วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ

แนวคิด
         แต่ละคนจะมีประสบการณ์กับวิกฤตภายในเชื่อมโยงกับแต่ละขั้นของชีวิต (จิตวิทยาสังคม) 8 ครั้ง ซึ่งในสามขั้นแรกถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดซึ่งเกิดในช่วงปฐมวัย คือ ขั้นที่ 1 การเชื่อใจ-การไม่เชื่อใจ ขั้นที่ 2 การเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายใจและความสงสัย ขั้นที่3 การคิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด

ทฤษฎีจิตสังคม (Psychological Theory) ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ
          ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)
          ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลดเปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น
          ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt)
          อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
          ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt)
          วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจากการสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่
          ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority)
          อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกายอยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง
          ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทใน
สังคม (Ego Identity vs Role Confusion)
          อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
          ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่
ระยะต้น (Young Adulthood) เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกันรวมทั้งสามารถยินยอมเห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลยและมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมีบ้านของตนเอง
          ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation)
          อีริควันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป หรือเป็นห่วงเยาวชนรุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตรก็สอนลูกหลายคนที่ไม่แต่งงานถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้องหรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป
          ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง                                  (Ego Integrity vs Despair)
         
วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้น บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมาผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุดยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตนไม่กลัวความตายพร้อมที่จะตายยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องตาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส



                ศาสตราจารย์โรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส  (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่างานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า  “ งานพัฒนาการ ” หมายถึง  งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิตสัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัยมีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
                ในการสร้างทฤษฎีงานพัฒนาการฮาวิกเฮิร์ส  ถือว่าการพัฒนาการของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางสรีระหรือชีวะแต่เพียงอย่างเดียว  สังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลในการพัฒนาการของบุคคลด้วย  ดังนั้นฮาวิกเฮิร์ส ได้สรุปว่าตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี  3  อย่าง
  1.  วุฒิภาวะทางร่างกาย
  2.  ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
  3.  ค่านิยม  แรงจูงใจ  ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
             3.1  ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  (Natural  Readiness  Approach)
กลุ่มนี้นี้ความเห็นว่า  ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น “การเร่ง” เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
            3.2  ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น  (Guided  Experience  Approach)
            กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ  (Critical  Period)ของการเรียนรู้และการปรับตัวเป็นอย่างมาก
4.  สิ่งแวดล้อม  ได้แก่  สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้นๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต  นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
1.  พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
2.  พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3.  พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
3.1  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ  (Psychosexual  Development)  ของฟรอยด์ (Freud)
3.2  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial  Development)  ของอีริคสัน (Erikson)
4.  พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral  Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)

พัฒนาการตามวัย
ตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1.  วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ  ดังนี้
                - การเรียนรู้ทางด้านร่างกาย เช่น การยกศีรษะ คลาน การทรงตัว การเดิน
               - การเรียนรู้ทางด้านการรับประทานอาหาร
               - การเรียนรู้ทางด้านการเปล่งเสียง การพูด
                - การเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมการขับถ่าย
                - เริ่มมีความคิดรวบยอดง่ายๆ เกี่ยวกับความจริงทางสังคม และทางกายภาพ
                - เริ่มรู้จักแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผิด-ถูก และเริ่มพัฒนาทางจริยธรรม
2.  วัยเด็กตอนกลาง (6-18 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้
                - พัฒนาทักษะทางด้านกายภาพ
                - เรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง
                  - พัฒนาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
                - พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม ค่านิยม เพื่อเตรียมพร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3. วัยรุ่น (12-18 ปี) พัฒนาการที่สำคัญของบุคคลในวัยนี้ คือ
                - พัฒนาความคิดรวบยอดและทักษะในการแก้ปัญหา
                - สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศได้
                - พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์
  4.  วัยผู้ใหญ่ตอนต้น  (18-35 ปี)  ในวัยนี้จะมีลักษณะที่สำคัญ  ดังนี้
              - เริ่มต้นประกอบอาชีพ
เริ่มสร้างครอบครัวของตนเอง
            - เรียนรู้ที่จะมีชีวิตร่วมกับคู่แต่งงาน

5. วัยกลางคน (35-60 ปี) งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
               - มีความรับผิดชอบต่อสังคม
               - มีความพยายามในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
               - รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
               - สามารถปรับตัวและทำความเข้าใจคู่ชีวิตของตนเองให้ได้
6. วัยชรา  (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)  งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
                - สามารถปรับตัวกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง
               - สามารถปรับตัวได้กับการเกษียณอายุการทำงาน
               - สามารถปรับตัวได้กับการตายจากของคู่ครอง
หลักพัฒนาการแนวคิด
              – สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
              – เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต
              – พัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
             – มีความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

การนำไปประยุกต์ใช้
        สามารถสังเกตพัฒนาการต่างๆของเพื่อนๆและคนรอบข้าง เพื่อให้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่เกี่ยวทางการศึกษาและการสืบค้นหรืออื่นๆได้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------
------------------------------------------------------
------------------------------------------------------
------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------
______________________________________________________



ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์




ประวัติของเพียเจต์
- จอห์น เพียเจต์ (พ.ศ. 2439 – 2523) Jean Piaget (ค.ศ.1896 – 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญา
- ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการเชาวน์ปัญญาที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับครู คือ ทฤษฎีของนักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ เพียเจต์ (Piaget)
- เพียเจต์ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาสัตวิทยาที่มหาวิทยาลัยNeuchatelประเทศสวิสเซอร์แลนด์
- ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้
         เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ พัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้นพัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่าสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
       เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 
หลักพัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎี
       เพียเจต์ให้ชื่อการพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นหรือวัยมัธยมศึกษาว่า Formal Operation สามารถคิดได้แบบผู้ใหญ่ คือ
       -      คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้         
       -      มีความสนใจในปรัชญาชีวิต ศาสนา อาชีพ
       -      สามารถใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ
       -      สามารถคิดเหตุผลได้ทั้งอนุมานและอุปมาน
       -      มีหลักการในการให้เหตุผลของตนเอง เกี่ยวกับความยุติธรรม เสมอภาคและมีมนุษยธรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ 
            พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
            - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
             - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
              พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่ 
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น 
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่ 
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย 
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้ 
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง 
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็น ระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล 

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ     
- ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
- ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่ เป็นนามธรรม 

หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
- เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
- เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
- เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
- เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
- ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง
การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
- ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
- ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
- ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
- เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
- ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
- ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
- ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
- ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง              (pseudo learning) 

ขั้นประเมินผลควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
- มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
- พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
- ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น
ในการจัดการเรียนรู้ให้วัยรุ่นควรจัดให้รู้จัดคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหา เช่น การแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวิทยาศาสตร์ การสอนแบใช้ความคิดรวบยอด


---------------------------------------------------------------------------------
??????????????????????????????????????????????????????
---------------------------------------------------------------------------------




ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก






             โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของเพียเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป วิธีการวิจัย จะสร้างสถานการณ์สมมติปัญหาทางจริยธรรมที่ผู้ตอบยากที่จะตัดสินใจได้ว่าถูก” “ผิด” “ควรทำ” “ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด เพราะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง การตอบจะขึ้นกับวัยของผู้ตอบเกี่ยวกับความเห็นใจในบทบาทของผู้แสดงพฤติกรรมในเรื่องค่านิยม ความสำนึกในหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ความยุติธรรมหรือหลักการที่ตนยึดถือ
โคลเบิร์ก ให้คำจำกัดความของจริยธรรมว่า จริยธรรมเป็นความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความถูกผิด และเกิดขึ้นจากขบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องอาศัยวุฒิภาวะทางปัญญา
โคลเบิร์ก เชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นผลจากการพัฒนาการของโครงสร้างทางความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรม นอกจากนั้น โคลเบิร์ก ยังพบว่า ส่วนมากการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็กจะไม่ถึงขั้นสูงสุดในอายุ 10 ปี แต่จะมีการพัฒนาขึ้นอีกหลายขั้นจากอายุ 11-25 ปี การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจิตใจของบุคคล การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจยิ่งขึ้นตามลำดับของวุฒิภาวะทางปัญญา
โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10-16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ(Levels)แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น คำอธิบายของระดับและขั้นต่างๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก มีดังต่อไปนี้
ระดับที่ 1ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre -Conventional Level) 
               ระดับนี้เด็กจะรับกฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ดี” “ไม่ดีจากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น บิดามารดา ครูหรือเด็กโต และมักจะคิดถึงผลตามที่จะนำรางวัลหรือการลงโทษ    พฤติกรรม ดีคือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล
พฤติกรรม ไม่ดีคือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ
โดยบุคคลจะตอบสนองต่อกฎเกณฑ์ซึ่งผู้มีอำนาจทางกายเหนือตนเองกำหนดขึ้น จะตัดสินใจเลือกแสดงพฤติกรรมที่เป็นหลักต่อตนเองโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่นจะพบในเด็ก2-10 ปีโคลเบิร์ก แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
                 ขั้นที่ 1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง(Punishment and Obedience Orientation) เด็กจะยอมทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจเหนือตนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ตนถูกลงโทษ ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อหลบหลีกการถูกลงโทษ เพราะกลัวความเจ็บปวด ยอมทำตามผู้ใหญ่เพราะมีอำนาจทางกายเหนือตน
โคลเบิร์ก อธิบายว่า ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตนถูกหรือผิดเป็นต้นว่า ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ผิดและจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ถูกและจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล
                ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน (Instrumental Relativist Orientation)ใช้หลักการแสวงหารางวัลและการแลกเปลี่ยน บุคคลจะเลือกทำตามความพอใจตนของตนเอง โดยให้ความสำคัญของการได้รับรางวัลตอบแทน ทั้งรางวัลที่เป็นวัตถุหรือการตอบแทนทางกาย วาจา และใจ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องของสังคม ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการผลประโยชน์สิ่งตอบแทน รางวัล และสิ่งแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งตอบแทน
โคลเบิร์ก อธิบายว่า ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง หรือทำดีเพราอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล ไม่ได้คิดถึงความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตนเอง แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค ถ้าเธอทำให้ฉัน ฉันจะให้.......
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม(Conventional Level) 
              พัฒนาการจริยธรรมระดับนี้ ผู้ทำถือว่าการประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง บิดามารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือทำความผิด เพราะกลัวว่าตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นผู้แสดงพฤติกรรมจะไม่คำนึงถึงผลตามที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ถือว่าความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีเป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนมีหน้าที่จะรักษามาตรฐานทางจริยธรรมโดยบุคคลจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่ตนเองอยู่ ตามความคาดหวังของครอบครัวและสังคม โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นขณะนั้นหรือภายหลังก็ตาม จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมโดยคำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
              ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ เด็กดี”(Interpersonal Concordance of “Good boy , nice girl” Orientation)บุคคลจะใช้หลักทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน ไม่เป็นตัวของตัวเอง คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ และยกย่องชมเชย ทำให้บุคคลไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ชอบคล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน
โคลเบิร์ก อธิบายว่า พัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นพฤติกรรมของ คนดีตามมาตรฐานหรือความคาดหวังของบิดา มารดาหรือเพื่อนวัยเดียวกัน พฤติกรรม ดีหมายถึง พฤติกรรมที่จะทำให้ผู้อื่นชอบและยอมรับ หรือไม่ประพฤติผิดเพราะเกรงว่าพ่อแม่จะเสียใจ
               ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ (“Law-and-order”Orientation)จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ 13-16 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้
โคลเบิร์ก อธิบายว่า เหตุผลทางจริยธรรมในขั้นนี้ ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบเรียบร้อยต้องมีกฎหมายและข้อบังคับ คนดีหรือคนที่มีพฤติกรรมถูกต้องคือ คนที่ปฏิบัติตามระเบียบบังคับหรือกฎหมาย ทุกคนควรเคารพกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นระเบียบของสังคม
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม (Post -Conventional Level) 
              พัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้ เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20ปี ขึ้นไป ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม การตัดสินใจ ถูก” “ผิด” “ไม่ควรมาจากวิจารณญาณของตนเอง ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจหรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก กฎเกณฑ์กฎหมาย ควรจะตั้งบนหลักความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของสังคมที่ตนเป็นสมาชิก ทำให้บุคคลตัดสินข้อขัดแย้งของตนเองโดยใช้ความคิดไตร่ตรองอาศัยค่านิยมที่ตนเชื่อและยึดถือเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ จะปฏิบัติตามสิ่งที่สำคัญมากกว่าโดยมีกฎเกณฑ์ของตนเอง ซึ่งพัฒนามาจากกฎเกณฑ์ของสังคม เป็นจริยธรรมที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
              ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา (Social Contract Orientation) บุคคลจะมีเหตุผลในการเลือกกระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนหมู่มาก ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สามารถควบคุมตนเองได้ เคารพการตัดสินใจที่จะกระทำด้วยตนเอง ไม่ถูกควบคุมจากบุคคลอื่น มีพฤติกรรมที่ถูกต้องตามค่านิยมของตนและมาตรฐานของสังคม ถือว่ากฎเกณฑ์ต่างๆเปลี่ยนแปลงได้ โดยพิจารณาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก พบได้ในวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่ ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามมาตรฐานของสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยบุคคลเห็นความสำคัญของคนหมู่มากจึงไม่ทำตนให้ขัดต่อสิทธิอันพึงมีได้ของผู้อื่น สามารถควบคุมบังคับใจตนเองได้ พฤติกรรมที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปตามค่านิยมส่วนตัว ผสมผสานกับมาตรฐานซึ่งได้รับการตรวจสอบและยอมรับจากสังคม โคลเบิร์ก อธิบายว่า ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรม ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ ถูกและ ผิดขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเห็นความสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคล แต่เปิดให้มีการแก้ไข โดยคำนึงถึงประโยชน์และสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น
                ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล (Universal Ethical Principle Orientation)เป็นขั้นที่เลือกตัดสินใจที่จะกระทำโดยยอมรับความคิดที่เป็นสากลของผู้เจริญแล้ว ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหลักการคุณธรรมสากล โดยคำนึงความถูกต้องยุติธรรมยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ มีอุดมคติและคุณธรรมประจำใจ มีความยืดหยุ่นและยึดหลักจริยธรรมของตนอย่างมีสติ ด้วยความยุติธรรม และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เคารพในความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคล ละอายและเกรงกลัวต่อบาป พบในวัยผู้ใหญ่ที่มีความเจริญทางสติปัญญา

โคลเบิร์ก อธิบายว่า ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน ในขั้นนี้สิ่งที่ ถูกและ ผิดเป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ



-----------------------------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------------------------


ทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของบรูเนอร์



 ประวัติ
         เจโรม บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1915 เป็นนักการศึกษา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์ บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
         บรูเนอร์มีความเชื่อว่า “ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม ”
         ขั้นที่ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive representation) (แรกเกิด – 2 ขวบ ) ในวัยนี้ เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้ หรือเรียกว่า Enactive mode เด็กจะใช้การสัมผัส เช่น จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของ ต่างกับผู้ใหญ่ ที่จะใช้ทักษะที่ซับซ้อน เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น 
          ขั้นที่ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic representation)ในพัฒนาทางขั้นนี้ จะเป็นการใช้ความคิด เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริง บรูเนอร์ได้เสนอแนะ ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก
           ขั้นที่ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรมSymbolic representation ในพัฒนาการทางขั้นนี้ บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolic modeซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม

แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
ขั้นพัฒนาการต่างๆ ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
• ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
• ระดับประถมปลาย
• ระดับมัธยมศึกษา
• ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น

แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
การเสริมแรงของผู้เรียน

สรุป
บรูเนอร์มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจโดยผ่านกระบวน การที่เรียกว่า acting, imaging และsymbolizing เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิตมิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น