รูปแบบการสอน

1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม
                  วิธีคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุและเมื่อสิ่งเร้าเข้ามากระทบกับมนุษย์ จึงทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมตอบสนอง มุ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus)  กับการตอบสนอง (Response) หรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาเกิดจากการฝึกหัด และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ความสนใจกับพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตจากภายนอก โดยไม่ได้สนใจเรื่องของจิตใจ (Mind) เลย ดังนั้นพฤติกรรมการวางเงื่อนไข (Conditioning) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรม นักทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยมได้แก่ วัตสันและพาฟลอฟ Type S (Classic Conditioning)  ทฤษฎีของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory) และทฤษฎีของสกินเนอร์ Type R (Operant Conditioning Theory)

1.วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา
วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา คือ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา เป็นแนวคิดของ    ทิศนา แขมมณี  ( 2550 )  ที่กล่าวว่า ซิปปา (CIPPA)  เป็นหลักการซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย อาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ CIPPA MODEL เป็นวิธีหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้ การได้เคลื่อนไหวทางร่างกาย การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ และ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
            การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA MODEL มาจากแนวคิดหลัก 5 แนวคิด                        
ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการศึกษา ได้แก่
            1.แนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้
            2.แนวคิดเรื่องกระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ
            3.แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้
            4.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ
            5.แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
            ขั้นที่ 1  การทบทวนความรู้เดิม
            ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
            ขั้นที่ 4  การ การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
            ขั้นที่ 5  การสรุปและจัดระเบียบความรู้
            ขั้นที่ 6  การปฏิบัติหรือการแสดงผลงาน
            ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้

ประโยชน์
            1. ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้
            2. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดที่หลากหลาย
            3. ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับสมาชิกภายในกลุ่ม

2. วิธีสอนแบบโครงงาน
            วิธีสอนแบบโครงงาน ( Project  Method )  คือ เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนการทำงานหรือการแก้ปัญหางานเป็นระบบ จนการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อันเป็นประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานต่างๆ ได้วิธีการสอนโครงงานสามารถสอนต่อเนื่องกับวิธีสอนแบบบูรณาการได้ ทั้งในรูปแบบรายการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาเวลาการเพื่อทำโครงงาน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
            1.การกำหนดปัญหา หรือสำรวจความสนใจ
            2. การกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน
            3. การวางแผนและโครงงาน
            4. การลงมือปฏิบัติหรือแก้ปัญหา
            5.การประเมินผลระหว่างปฏิบัติงาน
            6. การสรุป รายงานผล และเสนอผลงาน

ประโยชน์
             1. เป็นการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาท
             2. ผู้เรียนรู้จักวิธีแสวงหาข้อมูล
            3. ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหา
            4. ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
            5. ฝึกความเป็นประชาธิปไตย
            6. ผู้เรียนได้ฝึกลักษณะนิสัยที่ดีในการทํางาน
            7. ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3. วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท ( Role Playing Method )
วิธีสอนแบบแสดงบทบาท คือวิธีสอนแบบแสดงบทบาทเป็นวิธีสอนที่ใช้การแสดงบทบาทสมมุติ หรือการเทียบเคียงสถานการณ์ที่เป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอน โดยที่ครูสร้างสถานการณ์สมมติและบทบาทขึ้นมาให้นักเรียนได้แสดงตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น การแสดงบทบาทอาจกระทำได้ทั้งทางด้านความรู้ความคิดและพฤติกรรมของผู้แสดง วิธีการนี้จะสร้างความเข้าใจและความรู้สึกให้เกิดกับนักเรียนได้ดี
จุดมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบแสดงบทบาท
           1. เพื่อฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นทีม
           2. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกซึ่งความรู้สึก ความคิดและพฤติกรรม
           3. เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหา
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบแสดงบทบาท
            1. เลือกปัญหาที่นักเรียนทำความเข้าใจยาก
            2. ให้นักเรียนร่วมกันกำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้นๆ
 ข้อดีของวิธีสอนแบบแสดงบทบาท
            1 นักเรียนได้เรียนพร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
            2 .สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายปลา และจดจำได้ดี
            3. ช่วยพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
           4. ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือร่วมใจกันในการทำงาน
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบบทบาท
            1. ครูผู้สอนต้องมีภาระในการเตรียมสอนมากขึ้น และการแสดงบทบาทบางครั้งใช้เวลามากทั้งในการแสดงจริงและการฝึกซ้อม
            2.การแสดงบทบาทบางครั้งต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
            3.การกำหนดเรื่องที่นำมาแสดงบทบาทต้องมีสาระสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้


__________________________________________________________________________________

2. กลุ่มปัญญานิยม
                   แนวคิดกลุ่มปัญญานิยมซึ่งมีแนวคิดพื้นฐาน คือการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล ประสบการณ์การสร้างความหมาย และความสำคัญของข้อมูลและการดึงข้อมูลของผู้ใช้ในการจัดการและแก้ปัญหาการสอนโดยเน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด สร้างความรู้ความเข้าใจให้ต่อตนเอง ทฤษฎีกลุ่มปัญญานิยมที่เห็นเด่นชัดในวงการศึกษาได้แก่  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์  และสุดท้ายที่จะดีการเรียนรู้ของเกสตัลท์ (Gestalt)

1 วิธีการสอนแบบความคิดรวบยอด
            ความคิดรวบยอด หมายถึง ความรู้ความเข้าใจลักษณะเฉพาะร่วมของสิ่งเร้า กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเช่น ความคิดรวบยอดของสิ่งที่เรียกว่า โต๊ะหมายถึงสิ่งเร้ากลุ่มหนึ่งที่มีขา และมีพื้นที่หน้าตัดสำหรับไว้ใช้งาน เช่นไว้ เขียนหนังสือ วางสิ่งของ แต่ไม่ใช่สำหรับนั่ง ความคิดรวบยอดนี้เกิดขึ้นในจิต เราใช้ภาษาเรียกชื่อหรือใช้สัญลักษณ์แทนความคิดรวบยอดนั้น เพื่อสื่อสารกับผู้อื่น ในในกรณีนี้หากผู้ใดมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับโต๊ะ เมื่อได้ยินคำว่าโต๊ะหรืออ่านพบคำว่าโต๊ะก็จะบอกถึงลักษณะเฉพาะของโต๊ะได้ทันที
กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
            1 .ขั้นตอนสังเกต
            2.ขั้นจำแนกความแตกต่าง
            3. ขั้นการหาลักษณะร่วม
            4 .ขั้นระบุชื่อความคิดรวบยอด
            5. ขั้นทดสอบและนำไปใช้

2. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
            การสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry) หมายถึง การสอนวิธีแสวงความจริง เพื่อนำไปสู่การค้นพบกฎเกณฑ์ธรรมชาติ คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ การนำกฎเกณฑ์มาใช้และสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ เป็นการสอนให้คิดเป็นทำเป็น และแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
จุดมุ่งหมายของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
            1. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกสังเกตวิเคราะห์ สิ่งแวดล้อมด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
            2. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการอธิบาย สาเหตุของปัญหาหรือสถานการณ์
            3. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการตั้งสมมติฐาน ทำนายปรากฏการณ์ใหม่ด้วยหลักหรือทฤษฎีที่เรียนไปแล้ว
            4.เพื่อให้ผู้เรียนฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใ นการนำหลักเกณฑ์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
 ขั้นตอนการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
            ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหา
            ขั้นที่ 2 สอนให้ผู้เรียนช่วยกันทำงานคำตอบ
            ขั้นที่ 3 ของแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน
            ขั้นที่ 4 ดำเนินการตามที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นที่ 3
            ขั้นที่ 5 สรุปผลเพื่อเมื่อพบสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมีข้อมูลอะไรบ้าง ที่จะสนับสนุนตัดสินและสรุปผล
            ขั้นที่ 6  นำผลสรุปไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อจะค้นคว้าความรู้ต่อไป
ข้อดีของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
            1 ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดและสติปัญญาของตนอย่างมีอิสระ
            2 ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นกระบวนการ
            3 ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
            4 ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนช่างสังเกต มีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆโดยไม่ตรวจสอบเสียก่อน
ข้อจำกัดของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
            1. การสอนแบบสืบสวนสอบสวน ถ้าผู้สอนไม่เตรียมการสอนมาอย่างดีจะทำให้การของเสียเวลามาก
            2. ถ้าผู้เรียนขาดความสนใจและความกระตือรือร้นงานของวิธีนี้จะไม่ได้ผล
            3. วิธีสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
                          ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constuctivist Theory) หมายถึงทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เน้นการศึกษาปัจจัยภายนอกมาเป็นสิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ความรู้ความเข้าใจ หรือกระบวนความรู้คิด (Cognitive processes) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ปัจจัยภายในมีส่วนช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และอุปกรณ์รู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียน แนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ซึม(Constuctivist Theory)  หรือเรียกชื่อแตกต่างกันไป ได้แก่สร้างสรรค์ความรู้นิยม หรือการสร้างความรู้
จากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับคอนสตรัคติวิซึม ซึ่งสรุปเป็นสาระสำคัญได้ดังนี้
            1. ความรู้ของบุคคลใด คือ โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาหรืออธิบายสถานการณ์อื่นอื่นได้
            2. นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการต่างๆกัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น
            3. ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเองภายใต้ข้อสมมติฐานต่อไปนี้
                        3.1 สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
                        3.2 ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายใน ทำให้เกิดกิจกรรมการไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้ง
                        3.3 ความไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์จากสังคม กระทุ่มให้มีการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
            4.วิธีสอนโดยการใช้สมองเป็นฐาน
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Basic Learning) หมายถึงวิธีการเรียนรู้โดยการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของสมองและให้ความสำคัญกับช่วงพัฒนาการของมนุษย์ที่สามารถเรียนรู้ได้ในแต่ละช่วงวัย รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างการทำงานและพัฒนาการของสมองกับการเรียนรู้มาเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้ (Brain Basic Learning)   เป็นการเรียนรู้ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยไม่สกัดกั้นการทำงานของสมองแต่เป็นการส่งเสริมให้สมองได้ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ที่สุด
จากความหมายข้างต้นกล่าวโดยสรุปว่าการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานคือการเรียนรู้ที่สอดคล้องวิธีการเรียนรู้หรือการทำงานของสมองทางธรรมชาติ เช่นในเรื่องการเรียนการสอนจะเป็นการสอนให้สอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองแทนที่จะสอดคล้องกับอายุ ชั้นเรียนอยู่ห้องเรียนเพียงอย่างเดียว เพราะเด็กที่อายุเท่ากันอาจมีสมองไม่เหมือนกันก็ได้หรือมีความสามารถแตกต่างกันอยู่ความสนใจแตกต่างกันด้วย การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และระบบและกระบวนการอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์
หลักการของกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน
            หลักการการออกแบบกิจกรรมอยู่ข้อค้นพบเกี่ยวกับ BBL นั้นบางตำราก็มีเพียง 8 หรือ 11 ขัอบางตำรามีทั้งหมด 12 ข้อดังต่อไปนี้
             1.  สมองเป็นเครื่องประมวลผลที่ทำงานในเชิงขนาน (The Brain is a Parallel Processor)      ต้องการต้องใช้การเรียนรู้หลายๆแนวทาง หลายๆวิธีการที่ทำให้เด็กมุ่งสนใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่
             2.  การเรียนรู้ต้องอาศัยการทำงานของระบบสรีระทั้งหมด (Learning Engages the Entire Physiology) การควบคุมอารมณ์ การสร้างความสนุกสนานโภชนาการ การออกกำลังกาย การเล่นเพื่อผ่อนคลายมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้
            3. มนุษย์มีความอยากที่จะค้นหาความหมายแต่กำเนิด (The Search for Meaning is innate) การสร้างความท้าทาย การเรียนรู้ด้วยคำถาม
            4. การค้นหาความหมายของมนุษย์เป็นกิจกรรมที่เป็นรูปแบบ (The search for Meaning  Occurs Through “ Patterning”) การเรียนรู้ จะต้องมีรูปแบบมีระบบ มีความเข้าใจ เน้นการประยุกต์ใช้หรือยกตัวอย่างจริงหรือตัวอย่างเปรียบเทียบ
            5 อบรมณ์มีความสำคัญต่อการทำงานแบบมีรูปแบบ ( Emotion are Critical to patterning) ให้ความสำคัญต่อความรู้สึก มีความเข้าใจว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
           6. สมองประมวลข้อมูลแบบเป็นส่วนย่อยๆและแบบทั้งหมดพร้อมๆ กัน ( The Brain Processes Parts and Wholes Simultaneously) การสร้างความเข้าใจแบบทีละส่วนแล้วมีเน้นการเชื่อมโยงของสิ่งที่เรียนรู้ และเชื่อมโยงกับชีวิตจริงเสมอ ให้รู้สึกว่าคความรู้ที่ได้ไปนั้นมีประโยชน์
           7. การเรียนรู้อาศัยทั้งการจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และการรับรู้ต่อสภาพรอบข้าง (Learning lnvolves Both Focused Attention and Pripheral Perception) สภาพแวดล้อมที่สอดคล้องเหมาะสมกับหัวข้อการเรียนรู้จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น
            8. การเรียนรู้เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้ต่างๆ ทั้งขณะที่มีสติรับรู้  และขณะไม่มีสติรับรู้อยู่เสมอ ( Learning Always Involves Conscious and Unconscious Processes) การเรียนรู้ที่ดีควรทิ้งโจทย์อะไรให้เด็กได้ไปคิดต่อ
             9.  เรามีวิธีจัดการกับการจดจำอย่างน้อย 2 วิธี การจึงป็นกระบวนการหนึ่ง ก็คือ การจดจำโดย แบบในการจดจำ และอีกวิธีหนึ่งก็คือ การจูงใจให้เด็กสนุกที่จะจดจํา หรือรับรู้โทษของการจดจำไม่ได้ การจดจำจะทำให้เด็กสามารถเรียกความรู้นั้นมาใช้ได้ทันที
            10. เราเข้าใจได้ง่าย และจดจำได้อย่างแม่นยำ เมื่อสิ่งนั้น หรือทักษะนั้นมีอยู่ในระบบการจัดการแบบธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับตัวเรา การเรียนรู้กล้องสอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่มีอยู่จริงในสภาวะแวดล้อม การเรียนนอกสถานที่ทำให้เด็กเข้าร่วมที่พบการใช้สังคมเป็นตัวผลักให้เกิดการเรียนรู้
            11. การเรียนรู้แบบซับซ้อนจะถูกกระตุ้นโดยความท้าทาย และถูกเยับยั้งโดยการถูกข่มขู่ (Complex Learning is Enhanced by Challenge and Inhibited by Threat)
            12. การลงโทษ เมื่อนักเรียนทำผิดพลาดจะเป็นการหยุดยั้งการเรียนรู้ ควรให้โอกาสจะได้ลองปฏิบัติตามแนวคิดของเรา
            13. สมองของแต่ละคนมีความเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน (Every Brain is Uriquely Organized)



_________________________________________________________________________________


3.กลุ่มมนุษยนิยม
            แนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม  ( Humanism )  มีนักทฤษฎีที่เห็นเด่นชัด ได้แก่ มาสโลว์ และโนว์ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นที่ยอมรับมากและสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีแนวคิดพื้นฐาน คือ เน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นให้บุคคลมองบวกในตนและผู้อื่น ยอมรับตนเองและผู้อื่น นำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มศักยภาพ รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ.  2542  หมวด 4  ว่าด้วยการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้น กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ การที่ครูจะสอนผู้เรียนให้เป็นตามแนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม คือ ครูต้องสร้างบรรยากาศของความรักความอบอุ่น มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย สอนให้มีน้ำใจและจิตสาธารณะ ให้รู้จักช่วยตัวเองตามวัยตามความถนัดความสนใจ รับผิดชอบบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักวางแผนชีวิตเพื่อปรับตัวในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสันติสุข

1.วิธีสอนแบบอภิปราย
                        คือ เรียนการสอนโดยที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างไรอย่างหนึ่ง การอภิปรายกระทำระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน วิธีการสอนแบบอภิปรายจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น พูดเป็น และสร้างความเป็นประชาธิปไตย
 จุดมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบอภิปราย
            1. เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย
            2. เพื่อศึกษาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
            3. เพื่อฝึกทักษะในการพูด และการแสดงความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบอภิปราย
            1. ขั้นนำเข้าสู่หัวข้อการอภิปรายเป็นขั้นตอนการกระตุ้นเร้าความสนใจของนักเรียนให้มีความสนใจร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
            2. ขั้นอภิปราย ให้แบ่งนักเรียนเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้อภิปรายซึ่งอยู่หน้าชั้นเรียนกับฝ่ายผู้ฟัง ฝ่ายผู้อภิปรายประกอบด้วยประธาน 1 คนทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้เสนอปัญหา สรุปประเด็นสำคัญ และนำการอภิปรายไม่ให้ออกนอกทาง ตัดบทสมาชิกที่ถกเถียงกัน การนำเข้าสู่หัวข้อการอภิปราย ประธานต้องแนะนำหัวข้อที่จะอภิปรายจากนั้นแนะนำสมาชิกผู้ร่วมอภิปรายแต่ละคน
ข้อดีของวิธีสอนแบบอภิปราย
            1.ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
            2.พัฒนาสติปัญญาของนักเรียนด้านการคิดหาเหตุผล
            3.ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนเมื่อนำมาใช้ในการอภิปราย
            4. ผู้เรียนสามารถนำวิธีการอภิปรายไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบอภิปราย
            1. หากผู้ดำเนินการอภิปรายไม่มีความสามารถในการอภิปราย จะทำให้ การอภิปรายไม่สัมฤทธิ์ผล
            2.หากการตั้งหัวข้อไม่ดีจะทำให้ไม่ได้ข้อสรุปของการอภิปราย
            3.ครูผู้สอนต้องควบคุมห้การอภิปรายดำเนินไปตามหลักการที่ถูกต้อง เช่น ประธานต้องไม่ไช้ความคิดของตนเองชี้นำจนผู้ร่วมอภิปรายไม่ใช้ความคิดของตนเอง

2. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
            คือ เป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย
จุดมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
            1.เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการทำงานนั่นคือส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
            2.เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบวินัย รู้จักทำหน้าที่
            3.แบบฝึกทักษะในการแก้ปัญหา การศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยปฏิบัติงานทางเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม และมีประสบการณ์ตรงในการทำงาน
            4.เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถ
ขั้นตอนในการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
            1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่กำหนดความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด
            2.ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แก่ บอกรายละเอียดของหนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
            3.นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
            4.ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงาน ในกรณีที่เป็นครูให้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการปฏิบัติงาน
            ในกรณีนักเรียนร่วมการประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเองโดยบอกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลที่ได้รับ และการพัฒนางานในโอกาสต่อไป
ข้อดีของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
            1.นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่
            2.นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตนเอง
ข้อสังเกตของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
            1.ถ้าครูเพิ่งเริ่มใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานเป็นครั้งแรก ครูควรดูแลนักเรียนใกล้ชิด เช่น ต้องดูแลให้นักเรียนทุกคนทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนผู้ที่เป็นหัวหน้ากลุ่มต้องทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสมาชิกในกลุ่มและนอกกลุ่ม รวมทั้งประสานงานกับครู
            2.นาทีการเป็นหัวหน้ากลุ่ม ควรหมุนเวียนสับเปลี่ยนกัน เพื่อฝึกเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
            3.การปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่มควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น