ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส


ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส


                ศาสตราจารย์โรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส  (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่างานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า  “ งานพัฒนาการ ” หมายถึง  งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิตสัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัยมีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
                ในการสร้างทฤษฎีงานพัฒนาการฮาวิกเฮิร์ส  ถือว่าการพัฒนาการของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางสรีระหรือชีวะแต่เพียงอย่างเดียว  สังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลในการพัฒนาการของบุคคลด้วย  ดังนั้นฮาวิกเฮิร์ส ได้สรุปว่าตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี  3  อย่าง
  1.  วุฒิภาวะทางร่างกาย
  2.  ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
  3.  ค่านิยม  แรงจูงใจ  ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
             3.1  ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  (Natural  Readiness  Approach)
กลุ่มนี้นี้ความเห็นว่า  ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น การเร่ง” เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
            3.2  ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น  (Guided  Experience  Approach)
            กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ  (Critical  Period)ของการเรียนรู้และการปรับตัวเป็นอย่างมาก
4.  สิ่งแวดล้อม  ได้แก่  สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้นๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต  นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
1.  พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
2.  พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3.  พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
3.1  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ  (Psychosexual  Development)  ของฟรอยด์ (Freud)
3.2  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial  Development)  ของอีริคสัน (Erikson)
4.  พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral  Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)

พัฒนาการตามวัย
ตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1.  วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ  ดังนี้
                - การเรียนรู้ทางด้านร่างกาย เช่น การยกศีรษะ คลาน การทรงตัว การเดิน
               - การเรียนรู้ทางด้านการรับประทานอาหาร
               - การเรียนรู้ทางด้านการเปล่งเสียง การพูด
                - การเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมการขับถ่าย
                - เริ่มมีความคิดรวบยอดง่ายๆ เกี่ยวกับความจริงทางสังคม และทางกายภาพ
                - เริ่มรู้จักแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผิด-ถูก และเริ่มพัฒนาทางจริยธรรม
2.  วัยเด็กตอนกลาง (6-18 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้
                - พัฒนาทักษะทางด้านกายภาพ
                - เรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง
                  - พัฒนาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
                - พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม ค่านิยม เพื่อเตรียมพร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3. วัยรุ่น (12-18 ปี) พัฒนาการที่สำคัญของบุคคลในวัยนี้ คือ
                - พัฒนาความคิดรวบยอดและทักษะในการแก้ปัญหา
                - สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศได้
                - พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์
  4.  วัยผู้ใหญ่ตอนต้น  (18-35 ปี)  ในวัยนี้จะมีลักษณะที่สำคัญ  ดังนี้
              - เริ่มต้นประกอบอาชีพ
เริ่มสร้างครอบครัวของตนเอง
            - เรียนรู้ที่จะมีชีวิตร่วมกับคู่แต่งงาน

5. วัยกลางคน (35-60 ปี) งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
               - มีความรับผิดชอบต่อสังคม
               - มีความพยายามในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
               - รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
               - สามารถปรับตัวและทำความเข้าใจคู่ชีวิตของตนเองให้ได้
6. วัยชรา  (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)  งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
                - สามารถปรับตัวกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง
               - สามารถปรับตัวได้กับการเกษียณอายุการทำงาน
               - สามารถปรับตัวได้กับการตายจากของคู่ครอง
หลักพัฒนาการแนวคิด
              – สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
              – เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต
              – พัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
             – มีความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

การนำไปประยุกต์ใช้
        สามารถสังเกตพัฒนาการต่างๆของเพื่อนๆและคนรอบข้าง เพื่อให้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่เกี่ยวทางการศึกษาและการสืบค้นหรืออื่นๆได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น